จีโอแก๊สเซอร์วิส
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
สมัครสมาชิก
.
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ติดต่อเรา : แผนที่การเดินทาง
จีโอแก๊สเซอร์วิส
»
หมวดหมู่ทั่วไป
»
ข่าวสาร และ กิจกรรม
»
ข้อมูลทางด้านเทคนิค
»
เรื่องของ หัวเทียน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: เรื่องของ หัวเทียน (อ่าน 23444 ครั้ง)
ช่างกบ โอ๊บ โอ๊บ
Global Moderator
Hero Member
กระทู้: 1780
เรื่องของ หัวเทียน
«
เมื่อ:
ธันวาคม 06, 2012, 07:48:27 AM »
ความรู้เรื่องหัวเทียน (ตัวบ่งบอกสภาพเครื่องยนต์)
หัวเทียน (sprak plug)
ทำหน้าที่จุดประกายไฟทำให้ไอดีเกิดการเผาไหม้ การเลือกใช้หัวเทียนที่ถูกต้องกับสภาพการใช้งานจะเป็นผลให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุณหภูมิของหัวเทียน(heat value)
หัวเทียนร้อน คือหัวเทียนที่ระยะทางระบายความร้อนจากเขี้ยวหัวเทียนถึงปลายล่างฉนวนยาว ความร้อนจึงสะสมอยู่ในตัวได้มาก ใช้สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วต่ำระยะเวลาในการทำงานช่วงสั้น ๆ
หัวเทียนมาตราฐาน คือหัวเทียนที่มีขีดความร้อนปานกลาง เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วปานกลาง
หัวเทียนเย็น คือหัวเทียนที่มีระยะทางระบายความร้อนจากเขี้ยวหัวเทียนถึงปลายล่างฉนวนสั้นความร้อนระบายได้เร็ว ใช้สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงหรือใช้วิ่งทางไกล
การตั้งระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียน ให้ค่าถูกต้องต้องใช้ฟิลเลอร์เกจแบบลวดกลม ค่ามาตราฐาน 0.6 - 0.8 มม.(0.024 - 0.031 นิ้ว)
การใส่หัวเทียน ต้องขันด้วยมือก่อนเพื่อป้องกันการปีนเกลียว
การเลือกใช้หัวเทียนที่ถูกต้อง เลือกใช้เบอร์ให้ถูกต้องกับสภาพการใช้งาน
การสังเกตสีและลักษณะของหัวเทียน
มีสภาพสีดำแห้ง สามารถเช็ดออกได้ง่าย แสดงว่าส่วนผสมหนา
มีสภาพน้ำมันเครื่องเปียก แสดงว่าลูกสูบ กระบอกสูบ แหวนลูกสูบสึกหรอ
มีสภาพไหม้กร่อน แสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานที่อุณหภูมิสูงเกินไป อาจใช้หัวเทียนผิดเบอร์
มีสภาพสีขาวจับหรือสีเหลืองจับ แสดงว่าไฟอ่อนเปลี่ยนหัวเทียนให้ร้อนขึ้น
โค้ดของหัวเทียน
BP6ES
อักษรตัวแรกจะบอกขนาดความโตของเกลียว
อักษรตัวที่ 2 จะบอกลักษณะโครงสร้าง
ตัวเลข จะบอกค่าความร้อน มากจะเย็น น้อยจะร้อน
อักษรหลังตัวเลขตัวแรก จะบอกความยาวของเกลียว
อักษรหลังตัวเลขตัวที่ 2 จะบอกลักษณะโครงสร้างพิเศษ
s: แกนกลางเป็นทองแดง
C : ใช้กับเครื่องยนต์ความเร็วสูง
N : ใช้กับรถแข่งมีเขี้ยวงอเป็นนิเกิล
M : ชนิดแกนสั้น
A : แบบ 2 เขี้ยวใช้กับเครื่องยนต์โรตารี่
R : ชนิดมีรีซิสเตอร์ที่แกนกลางของหัวเทียน
Hitachi L46PW
L = ความยาวของเกลียว
4 = ความโตของเกลียว
6 = ค่าความร้อน มากร้อน น้อยเย็น
P = ลักษณะโครงสร้าง
W = แกนกลางเป็นทองแดง
Champion N9Y
N = ความยาวของเกลียว
9 = ค่าความร้อน มากร้อน น้อยเย็น
Y = ลักษณะโครงสร้าง
การใช้เครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด อยู่ที่การดูแลรักษาและรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ให้ตรงกับสภาพการใช้งานของเครื่องยนต์ หัวเทียน เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ ถ้าหัวเทียนไม่ดีจะทำให้เปลืองเชื้อเพลิงและกำลังของเครื่องยนต์จะตก
เราพอจะทราบว่าหัวเทียนนั้นจะมีช่องว่างซึ่งทำให้เกิดประกายไฟข้ามช่องว่างนั้น ซึ่งประกายไฟนั้นจะดีได้ต้องใช้แรงดันไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 10,000 โวลต์ จะต้องทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 C. และต้องทนแรงอัดสูง ไม่ต่ำกว่า 50 กก./ตร.ซม. และที่สำคัญก็คือควรจะมีอายุการใช้งานยืนยาวไม่ต่ำกว่า 15,000 กม. และแรงเคลื่อนที่กระโดดข้ามช่องว่างของหัวเทียนนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
1.ขนาดของช่องว่างระหว่างเขี้ยวหัวเทียนกับแกนกลาง
2.กำลังอัดของเครื่องยนต์
3.อัตราส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศ
4.พื้นที่หน้าตัดของแกนกลาง
ฉนวน
ทำจากวัสดุประเภทกระเบื้องที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมออกไซด์ ซึ่งสามารถทนความร้อนได้สูงแล้วยังมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนที่ดีมากด้วย
ขั้วกลาง
จะทำจากวัสดุตัวนำไฟฟ้า เช่นทองแดง ส่วนปลายจะเคลือบสารประเภทนิเกิลเพื่อให้ทนต่อประกายไฟ นอกจากแกนกลางจะเป็นทางผ่านของกระแสไฟแล้วยังทำหน้าที่ระบายความร้อนของปลายหัวเทียนอีกด้วย
เปลือก
จะทำหน้าที่เป็นตัวรองรับฉนวนหุ้มแกนกลางทำด้วยโลหะตรงปลายทำเป็นเกลียวและตรงส่วนบนทำเป็นรูปหกเหลี่ยมเพื่อที่จะใช้ประแจขัน ส่วนปลายจะมีเขี้ยวมารองรับประกายไฟซึ่งโดดมาจากปลายของขั้วแกนกลางให้ลงแท่นเครื่องครบวงจรไฟฟ้า
ปะเก็น
คือวงแหวนทำจากโลหะอ่อน เช่นทองแดงหรืออลูมิเนียม จะรองอยู่ระหว่างหัวเทียนกับแท่นฝาสูบ มีไว้กันมิให้อากาศที่ถูกอัดรั่วไหล
ช่องว่าง
ระหว่างฉนวนกับเปลือกโลหะ ช่องนี้จะมีความสำคัญมากคือนอกจากจะทำให้คราบเขม่าไม่มาเกาะมากแล้วยังเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของหัวเทียนอีกด้วย
เมื่อรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของหัวเทียนแล้ว ก็ควรพิจารณาดูว่าหัวเทียนนั้นควรทำงานโดยที่ตัวมันร้อนดีหรือไม่ดี
ถ้าหัวเทียนร้อนจัดเกินไป
เมื่อลูกสูบอัดเชื้อเพลิง(ส่วนผสม)ยังไม่เต็มที่ก็จะทำให้เชื้อเพลิงนั้นลุกไหม้ได้เองโดยที่ยังไม่ถึงเวลาที่ควรจะติดไฟจะทำให้เกิดอาการซึ่งเรียกว่าเครื่องยนต์น็อค มีผลทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานสั้นและทำให้เสียกำลังของเครื่องยนต์
ถ้าหัวเทียนเย็นเกินไป
จะมีผลให้คราบคาร์บอนซึ่งหลงเหลือจากการเผาไหม้ไม่หมด มาเกาะที่หัวเทียนซึ่งมีความร้อนไม่เพียงพอที่จะเผาคราบออกได้ ถ้าเกาะนานเข้าจะทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วผ่านคราบเขม่า(คาร์บอน)ลงแท่น ทำให้ไม่เกิดประกายไฟโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียนทำให้ไม่มีการจุดระเบิด ซึ่งเรียกกันว่าหัวเทียนบอด ทำให้เปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและกำลังเครื่องยนต์จะตกด้วย
เมื่อรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของหัวเทียนแล้ว ก็ควรพิจารณาดูว่าหัวเทียนนั้นควรทำงานโดยที่ตัวมันร้อนดีหรือไม่ดี
ถ้าหัวเทียนร้อนจัดเกินไป เมื่อลูกสูบอัดเชื้อเพลิง(ส่วนผสม)ยังไม่เต็มที่ก็จะทำให้เชื้อเพลิงนั้นลุกไหม้ได้เองโดยที่ยังไม่ถึงเวลาที่ควรจะติดไฟจะทำให้เกิดอาการซึ่งเรียกว่าเครื่องยนต์น็อค มีผลทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานสั้นและทำให้เสียกำลังของเครื่องยนต์
ถ้าหัวเทียนเย็นเกินไป จะมีผลให้คราบคาร์บอนซึ่งหลงเหลือจากการเผาไหม้ไม่หมด มาเกาะที่หัวเทียนซึ่งมีความร้อนไม่เพียงพอที่จะเผาคราบออกได้ ถ้าเกาะนานเข้าจะทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วผ่านคราบเขม่า(คาร์บอน)ลงแท่น ทำให้ไม่เกิดประกายไฟโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียนทำให้ไม่มีการจุดระเบิด ซึ่งเรียกกันว่าหัวเทียนบอด ทำให้เปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและกำลังเครื่องยนต์จะตกด้วย
ดังนั้นจึงมีการผลิตหัวเทียนตามขนาดความร้อน 3 ชนิดให้เลือกใช้งาน
1. หัวเทียนร้อน เป็นหัวเทียนที่สามารถระบายความร้อนที่บริเวณปลายหัวเทียนลงยังแท่นเครื่องได้น้อย ซึ่งถ้าดูจากรูปเมื่อเปรียบเทียบกับหัวเทียนเย็นและหัวเทียนมาตรฐานแล้ว จะเห็นว่าช่องว่างมีความลึกมากความร้อนจากปลายจะระบายมาที่เปลือกช้าทำให้เกิดความร้อนสูง ซึ่งเหมาะสำหรับรถที่มีช่วงการใช้งานสั้น ๆ และรอบเครื่องยนต์ไม่สูงมาก จะทำให้ไม่ค่อยมีเขม่ามาจับทำให้หัวเทียนสะอาด
2.หัวเทียนเย็น เป็นหัวเทียนที่สามารถระบายความร้อนได้เร็วเพราะช่องว่างมีขนาดสั้น สามารถระบายความร้อนจากปลายหัวเทียนมายังเปลือกและระบายลงแท่นได้เร็ว จึงเหมาะสำหรับรถที่ใช้งานหนักและวิ่งระยะทางไกล ๆ บ่อย ๆ เพราะเมื่อวิ่งนาน ๆ จะทำให้ความร้อนสะสมมีมากพอที่จะเผาไหม้ให้คราบเขม่าไหม้ ไม่เกิดอาการหัวเทียนบอดได้
3.หัวเทียนมาตรฐาน จะเป็นหัวเทียนที่มีช่องว่างลึกไม่มากหรือน้อยเกินไป จึงเหมาะสำหรับรถที่ใช้งานทั่ว ๆ ไปคือเร็วบ้างต่ำบ้าง
ดังนั้นเวลาเลือกซื้อหัวเทียนก็เลือกใช้ชนิดที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานของเครื่องยนต์ นอกจากหัวเทียนจะมีความแตกต่างที่ขนาดอุณหภูมิการใช้งานแล้ว ยังมีความแตกต่างอย่างอื่นอีก เช่นความยาวของเกลียว ความยาวของแกนกลาง และฉนวนที่หุ้มแกนยื่นออกมาไม่เท่ากัน ในการใช้งานนั้น หัวเทียนที่มีแกนยาวจะมีคุณสมบัติในการสร้างประกายไฟที่มีคุณภาพดีกว่าอย่างแกนสั้น และยังช่วยให้มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่าด้วย แต่ต้องคำนึงถึงลักษณะของเครื่องยนต์ด้วย
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับหัวเทียนกันมาบ้างแล้ว ทีนี้มาลองดูวิธีที่จะดูหัวเทียนเพื่อรู้ถึงการทำงานของเครื่องยนต์ว่าสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด จะต้องถอดหัวเทียนออกมาดูก่อนถึงจะแน่นอน หลังจากใช้งานไป
หัวเทียน สภาพปกติ หมายเลข 1
ลักษณะ ปลายฉนวนเป็นสีน้ำตาลปนเทาหรือเป็นสีดินลูกรังแห้งกรัง การสึกหรอของเขี้ยวจะปรกฎน้อยซึ่งเป็นสภาพของหัวเทียนสมบูรณ์ อันเป็นผลมาจากการใช้งานถูกต้อง ครื่องยนต์อยู่ในสภาพถูกต้อง หัวเทียนใช้ได้ดีทั้งความเร็วสูงและความเร็วต่ำ หัวเทียนอยู่ในสภาพถูกต้องทั้งค่าความร้อนและการเผาไหม้ เพื่อความมั่นใจในการใช้งานเป็นเวลานานหัวเทียนที่ใช้ควรอยู่ในสภาพที่ปรับตั้งเขี้ยวถูกต้อง และทำความสะอาดทุก ๆ ระยะ 2,000 - 3,000 กม.
ข้อแนะนำ ในกรณีถึงกำหนดอายุเปลี่ยนหัวเทียนแล้ว ให้เปลี่ยนหัวเทียนเบอร์เดิมทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
หัวเทียน สภาพคราบเขม่า หมายเลข 2
ลักษณะ เขม่าดำ(คาร์บอน)แห้งจับเกาะเป็นคราบอยู่ที่ปลายฉนวนเขี้ยวไฟและที่ด้านในของเปลือกเหล็ก
อาการ เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก ระบบจุดระเบิดขัดข้อง เครื่องยนต์เดินไม่เรียบเมื่อเบาเครื่องอาจคับได้ เร่งความเร็วไม่ดี
สาเหตุ ส่วนผสมหนาไป โช้คค้าง ระบบจุดระเบิดบกพร่อง(คอยส์เสื่อม, สายหัวเทียนรั่ว, หน้าทองขาวสึก, คอนเด็นเซอร์เสื่อม) ไส้กรองอากาศอุดตัน ตั้งไฟจุดระเบิดอ่อนไป ขับรถช้าเป็นเวลานาน ๆ หัวเทียนที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม
หัวเทียน สภาพร้อนจัด หมายเลข3
ลักษณะ กระเบื้องของหัวเทียนถูกเผาจนเป็นสีขาวเงาและเขี้ยวละลาย ซึ่งหัวเทียนในสภาพนี้เขี้ยวแกนกลาง เขี้ยวไฟพร้อมทั้งกระเบื้องก็ละลายด้วย เนื่องจากอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ร้อนจัดหัวเทียนไม่สามารถทนทานได้
อาการ กำลังเครื่องยนต์ตกต่ำในขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงหรือบรรทุกของหนัก ขึ้นทางลาดชันเป็นเวลานานและเร่งเครื่องด้วยความเร็วอย่างกระทันหัน เมื่อหัวเทียนมีความร้อนสูงจัดเขี้ยวของหัวเทียนจะละลายได้ ซึ่งทำให้หัวเทียนชำรุด และอาจทำให้ลูกสูบเสียหายได้
สาเหตุ ใช้หัวเทียนไม่เหมาะสม(ชนิดร้อนเกินไป) ระบบระบายความร้อนบกพร่อง ตั้งไฟจุดระเบิดแก่เกินไป ตั้งอัตราส่วนผสมบางไป ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่ดี(ออกเทนต่ำไป)
หัวเทียน สภาพคราบน้ำมัน หมายเลข4
ลักษณะ น้ำมันเปียกและดำจับเกาะอยู่ตามปลายฉนวน เขี้ยวไฟและด้านในรอบ ๆ เปลือกเหล็ก เพราะมีน้ำมันเครื่องเข้าไปในห้องเผาไหม้มากเกินไป ในเครื่องยนต์ 90 % ของปัญหาหัวเทียน เกิดจากมีคราบน้ำมันและเขม่าซึ่งทำให้เกิดหัวเทียนได้ง่าย
สาเหตุ ส่วนผสมหนาไป แหวนลูกสูบหลวมหรือสึก กระบอกสูบหลวมหรือสึก ปลอกวาล์วหลวมหรือสึก
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 06, 2012, 08:16:58 AM โดย ช่างกบ โอ๊บ โอ๊บ
»
บันทึกการเข้า
ช่างกบ โอ๊บ โอ๊บ
Global Moderator
Hero Member
กระทู้: 1780
Re: เรื่องของ หัวเทียน
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
ธันวาคม 06, 2012, 08:12:26 AM »
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 06, 2012, 08:14:58 AM โดย ช่างกบ โอ๊บ โอ๊บ
»
บันทึกการเข้า
superchen
Full Member
กระทู้: 106
Re: เรื่องของ หัวเทียน
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
ธันวาคม 06, 2012, 08:58:03 AM »
เสริมให้ครับ ช่างกบ
เลือกหัวเทียนอย่างไร? ถึงจะเข้ากับรถคุณ!!
เริ่มแรกขอเริ่มที่เบอร์หัวเทียนกันก่อนนะครับ หัวเทียนในแต่ละยี่ห้อนั้น มันบอกเบอร์ไม่ได้ (เพราะมันไม่มีปาก!) ตัวเลขแต่ละแบรนด์ก็ไม่เหมือนกัน ถ้าจะเทียบกันจริง ๆ คงต้องใช้ตารางเทียบว่าแบรนด์นี้ เบอร์นี้ ตรงกับรุ่นอะไร ถึงจะชัวร์ และอย่างที่ใช้กันประจำ ๆ พูดกันติดปากก็ไม่พ้น "NGK" หัวเทียนทั่ว ๆ ไปที่เรียกว่า หัวเทียนร้อน จะเป็นเบอร์ต่ำเสมอ ส่วนหัวเทียนเย็นจะเป็นเบอร์สูง ว่าแต่....ร้อนกับเย็นมันต่างกันยังไง เดี๋ยวจะอภิปรายให้ฟัง
หัวเทียนร้อน
"หัวเทียนร้อนเนี่ย....ตัวมันเองจะระบายความร้อนออกได้ช้า" เมื่อเราใช้งานจริง ในห้องเผาไหม้มันมีความร้อนจากการจุดระเบิด เมื่อหัวเทียนรับความร้อนนั้นมา จะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมที่หัวเทียนอยู่อย่างนั้น
หัวเทียนเย็น
"หัวเทียนเย็นก็คือ...ตัวมันสามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็วกว่าหัวเทียนร้อน" แต่ใช่ว่าจะมันจะหายร้อนเลยนะ อย่างนั้นไม่ใช่ จริง ๆ แล้ว หัวเทียนจะมีความร้อนสะสมอยู่ระดับนึงเพื่อให้แห้งตลอดเวลา เป็นทั้งหัวเทียนร้อนและหัวเทียนเย็น เพียงแต่ว่าหัวเทียนเย็นจะถ่ายเทความร้อนได้เร็วกว่าเท่านั้นเอง
มันก็เหมือนกับเหล็กเผาไฟนั่นแหละ เมื่อโดนน้ำมันก็จะดัง "ฟู่" ควันฉุยแล้วก็หายไป แต่เหล็กนั้นก็ยังร้อนอยู่เหมือนเดิม ซึ่งเงื่อนไขมันเป็นอย่างนี้นะ "ไอดี" มันเป็น "ความชื้น" เมื่อความชื้นพ่นมาโดนอะไรสักอย่าง มันก็จะทำให้ของชิ้นนั้นเปียก ดังนั้นถ้าเราเปรียบของชิ้นนั้นเป็นหัวเทียน ถ้ามันเปียก ก็จะส่งผลให้ "หัวเทียนบอด"
ผมลองยกตัวอย่างให้ดูนะ รถที่วิ่งใช้งานในเมืองทุกวัน วิ่งช้าตลอดเวลา คลานกระดึ๊บๆไปเรื่อย "ชิว ชิว" รถจำพวกนี้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้จะต่ำมากเลย ซึ่งถ้าในสถานการณ์นี้ควรเลือกใช้ "หัวเทียนร้อน" เพราะว่าเราต้องการระบายความร้อนช้าๆ เพื่อเก็บความร้อนสะสมไว้ ไม่ให้ "หัวเทียนบอด..!" ไงจ๊ะ
กลับกัน ถ้าเป็นรถที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ ถ้าเราใช้หัวเทียนร้อน มันจะทำให้ระบายความร้อนไม่ทัน อาจสร้างความ "ชิ...หาย" ได้ ต่าง ๆ นานา เช่น หัวเทียนละลาย กระเบื้องแตก และ เกิดอาการชิงจุด ก็เป็นได้ "คือว่าหัวเทียนมันร้อนเกินไป มันก็เหมือนโละหะเผาไฟร้อนแดง เมื่อมีไอดีเข้ามา มันเป็นเชื้อเพลิงพร้อมที่จะจุดระเบิด พอมากระทบตัวหัวเทียนปุ๊บ ซึ่งมันยังไม่ทันถึงจังหวะจุดระเบิด มันก็จุดระเบิดทันทีจากความร้อนสะสมของหัวเทียน" ซึ่งรถที่ใช้ความเร็วตลอดควรเลือกใช้ "หัวเทียนเย็น" เพื่อการระบายความร้อนจะดีกว่า
แต่ว่า...มันก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้งานให้ถูกประเภท (เฉพาะกิจ) ด้วย อย่าง รถแต่งเครื่องซิ่งสุดประเทศ..! มันจะมีความร้อนสูงมากกว่าเครื่องยนต์สแตนดาร์ดทั่ว ๆ ไป และส่วนมากมักเป็นเครื่องยนต์ที่มีระบบอัดอากาศ (TURBO) ซึ่งเครื่องยนต์ประเภทนี้เป็นเครื่อง "Over Lap" มาก จุดระเบิดไม่ค่อยดีในรอบต่ำ หัวเทียนที่ใช้จึงเป็นหัวเทียนเย็นเสมอ
แต่ถ้าเรานำเครื่องซิ่งวิ่งผิดที่ (ในเมือง) อันนี้ก็ต้องจบข่าว "ผิดแผน" กันไป เพราะเครื่องประเภทนี้มันต้อง "เหนี่ยว" อย่างเดียว แต่ถ้ามาวิ่งผิดที่ รับรองวิ่งไม่ได้เลย เพราะเครื่องซิ่งเหล่านี้ ส่วนมากรอบต่ำมันวิ่ง "สับปะรดหมาไม่แด...กอยู่แล้ว" ยิ่งเจอรถติดในเมืองอีก รับรองแม่เจ้า....ไม่รอด "บอดสนิท" ทุกราย ซึ่งถ้าจะมาใช้ในเมืองจริง ๆ คงต้องเปลี่ยนเป็นหัวเทียนร้อนแทน แต่ถ้าดันทุรังมีหวัง "หลับ" ทุกราย
***** คัดมาเฉพาะบางส่วน *****
ที่มา : URL :
http://www.grandprixgroup.com/new/magazine/xoauto/detail.asp?Detail_Id=3060&Column_Name=XO%20KNOWLEDGE
*************************
บันทึกการเข้า
┌─┐ ─┐
│▒│ /▒/ ^^ เวลาองค์ลง ม้าก็ลงตาม
│▒│/▒/
│▒ /▒/─┬─┐
│▒│▒|▒│▒│
┴─┴─┐-┘─┘
▒┌──┘▒▒▒│
┐▒▒▒▒▒▒┌┘
└┐▒▒▒▒┌┘
\__ ___/
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
จีโอแก๊สเซอร์วิส
»
หมวดหมู่ทั่วไป
»
ข่าวสาร และ กิจกรรม
»
ข้อมูลทางด้านเทคนิค
»
เรื่องของ หัวเทียน